พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์
ภูกุ้มข้าวเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย โดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัว กองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชพันธุ์ต่างๆ อีก 2 - 3 ชนิด กระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขา รูปร่างคล้ายฝาชี
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูเวียง จ.ขอนแก่น
กระดูกไดโนเสาร์ที่กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบเป็นครั้งแรก พบที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ.2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม กระดูกที่พบเป็นส่วนปลาย ของกระดูกขาหลังท่อนบนข้างซ้าย ของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ มีอายุประมาณยุคครีเทเชียสตอนต้น
พิพิธภัณฑ์ หอยหิน 150 ล้านปี จ.หนองบัวลำภู
พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี จ.หนองบัวลำภู มีฟอสซิลเปลือกหอยช่วงจูราสสิก 140-150 ล้านปี จำนวนมาก ทั้งที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล และ บริเวณใกล้เคียงพบ 60 ฟอสซิลไดโนเสาร์ ทั้งยังพบฟอสซิลจระเข้โบราณ
Wednesday, July 22, 2015
โมเดลกำเนิดไดโนเสาร์ และมนุษย์ยุคต่างๆ Human History
7:05 AM
Dinosaur Model, Human History, Phu Kum Khao Dinosaur Museum, กาฬสินธุ์, พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว
No comments
กำเนิดไดโนเสาร์ Origin Dinosaurs
ไดโนเสาร์ครองโลก When Dinosaurs Conquered the World
ยุคทองของไดโนเสาร์ The Reign of Dinosaurs
ปลาซีลาแคนท์ อะเซลโรดิกธิส อะราริเพนซิส
สถานที่พบ ประเทศบราซิล
Coelacanth Axelrodichthys araripensis
Locality Brazil
กระดูกสันหลังส่วนคอของ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
สถานที่พบ บ้านสำราญ จ.ขอนแก่น ประเทศไทย
Cervical vertebra of Siamosaurus suteethrni
Locality Ban Samran, Khon Kaen Province, Thailand
ฟันของ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
สถานที่พบ ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ ประเทศไทย
Teeth of Siamosaurus suteethorni
Locality Phu Kum Khao, Kalasin Province, Thailand
กระดูกสันหลังของ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
สถานที่พบ บ้านสำราญ จ.ขอนแก่น ประเทศไทย
Dorsal vertebra of Siamosaurus suteethorni
Locality Ban Samran, Khon Kaen Province, Thailand
โฮโม เซเปียนส์
Homo sapiens 200,000 years ago - present
โฮโม นีแอนเดอร์ทัลเอนซิส
Homo neanderthalensis 600,000 - 30,000 years ago
โฮโมอีเร็คตัส
Homo erectus 1.8 million - 200,000 years ago
ออสตราโลพิเธคัส แอฟริกานัส
Australopithecus africanus 3 - 2.3 million years ago
ซาเฮลแอนโทรปัส ชาดเอนซิส
Sahelanthropus tchadensis 7 - 6 million years ago
ไพรเมตชั้นสูง (แอนโทรพอยด์) Higher Primates (Anthropoids)
โครงกระดูกของ ออสตราโลพิเธคัส อฟาเรนซิส "ลูซี่"
Australopithecus afarensis "Lucy"
อายุประมาณ 3.18 ล้านปีมาแล้ว
Dated to 3.18 million years ago
พบในทะเลทรายอฟาร์ ในประเทศเอธิโอเปีย เมื่อ พ.ศ.2517 โครงกระดูกที่พบเป็นของออสตราโลพิเธคัส อฟาเรนซิส โครงแรกที่ค้นพบ ได้ชื่อเล่นว่า "ลูซี่" ตามชื่อเพลง "Lucy in the Sky with Diamonds" ของวงดนตรี the Beatles จากชิ้นส่วนที่พบประมาณร้อยละ 40 ของโครงกระดูก ทำให้ระบุได้ว่า "ลูซี่" มีความสูงประมาณ 1.1 เมตร ฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งงอกขึ้นมาแล้ว แสดงว่ามีอายุประมาณ 20 ปีลักษณะของกระดูกสะโพกบ่งชี้ว่าเป็นเพศหญิงและเดินตัวตรง จึงเป็นหลักฐานว่าบรรพบุรุษของมนุษย์สามารถเดิน 2 ขามานาน ก่อนที่จะรู้จักทำเครื่องมือหิน
Discovered in the Afar Desert of Ethipia in 1974, this first Australopithecus afarensis skeleton ever found was nicknamed "Lucy" after the Beatles'song "Lucy in the Sky with Diamonds".
Finds comprise bone fragments that make up about 40 percent of the total skeleton showing that she was about 1.1 m tall. Erupted wisdom teeth (third molars) in the jaw place her age at early twenties at the time of death. The shape of the hip bone indicates that she was female and could walk upright, which proves that human ancestors were bipedal long before they knew how to make stone tools.
เครื่องมือหินแบบอาชิวเลียน, เครื่องมือหินแบบมูสเตอเรียน
Acheulean stone tools, Mousterian Stone Tools
เรื่องราวไดโนเสาร์ Dinosaur History & ไดโนเสาร์โมเดล Dinosaur Model ที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
5:44 AM
Dinosaur Model, Dinosaur Park, Phu Kum Khao Dinosaur Museum, Sirindhorn Museum, กาฬสินธุ์, พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว
No comments
ไดโนเสาร์โมเดล Dinosaur Model ที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว (พิพิธภัณฑ์สิรินธร)
Dinosaur Model @ Phu Kum Khao Dinosaur Museum (Sirindhorn Museum)
อีสาน ในมหายุคมีโซโซอิก
Northeastern Thailand During Mesozoic Era
ในช่วงต้นของมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งเป็นช่วงเวลาของยุคไทรแอสซิก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยเป็นทะเลมาก่อน ได้ยกตัวขึ้นเป็นภูเขา และมีภูเขาไฟเกิดขึ้นหลายแห่ง แต่ก็มีหลายพื้นที่ทรุดตัวลงกลายเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เกิดทะเลสาบที่อุดมสมบูรณ์หลายแห่ง ซึ่งมีสาหร่าย ปลา เต่า และสัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่มากมาย ไดโนเสาร์พวกแรกที่เริ่มปรากฏในประเทศไทย คือ โปรซอโรพอดและซอโรพอด ซึ่งซอโรพอดที่เก่าแก่ที่สุดของโลก คือ อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ
ต่อมายุคจูแรสซิก อากาศเริ่มร้อนและแห้งแล้ง แต่หลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงสภาพเป็นบึง หรือที่ราบลุ่มน้ำท่วม มีหอยสองฝา ปลา เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส และจระเข้ ซูโนซูคัส ไทยแลนดิคัส อาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ที่เริ่มพัฒนา และขยายพันธุ์มากขึ้น เช่น ซอโรพอด คาร์โนซอร์ ฮิปซิโลโฟดอน และสเตโกซอร์
ปลายยุคจูแรสซิกต่อยุคครีเทเชียสตอนต้น บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลายสภาพเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กว้างใหญ่ไพศาล มีแม่น้ำนับร้อยสายไหลจากเวียดนาม ลาว และกัมพูชา มารวมกันตอนกลางของพื้นที่แล้วไหลไปลงทะเลทางทิศตะวันตก เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน, สยามโมซอรัส สุธีธรนี, สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส, คอมพ์ซอกเนธัส, กินรีมิมัส เป็นต้น แล้วเริ่มพัฒนาไปเป็นไดโนเสาร์ อิกัวโนดอน และซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ
ในช่วงปลายยุคครีเทเซียสตอนต้น เทือกเขาดงพญาเย็นเริ่มยกตัวขึ้น เกิดแอ่งที่ถูกปิดกั้นรอบด้านขึ้นมา 2 แอ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือแอ่งนครไทย และแอ่งมหาสารคาม ซึ่งมีสภาพเป็นทะเลสาบที่มีน้ำเค็มจัดจนเกิดการสะสมตัวของเกลือหิน และแร่โพแทช ต่อมาทะเลสาบเหือดแห้ง ไปกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้ง บางแห่งกลายเป็นทะเลทราย ไดโนเสาร์ในบริเวณนี้อาจจะสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ช่วงที่พื้นที่กลายเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัด หรือช่วงที่เป็นทะเลทราย ก่อนหน้าที่ไดโนเสาร์ทั่วโลกจะสูญพันธุ์ไปพร้อมกับการสิ้นสุดของยุคครีเทเซียส และมหายุคมีโซโซอิก
During the early Mesozoic Era, Triassic, the northeastern part of Thailand had been covered by sea and consequently was uplifted forming mountains and volcanoes. However, many areas were subsided forming alluvial plains and fertile lakes. These lakes were full of algae, fishes, turtles and reptiles. Dinosaurs, prosauropod and sauropod, began to appear, the earliest sauropod was Isanosaurus attavipatchi.
In Jurassic, the climate was hot and dry but many regions of northeastern Thailand were still alluvial plains and swamps which were full of bivalves, fish the Lepidotes buddhabutrensis, crocodile the Sunosuchus thailandicus and dinosaur that began to evolve and increase in population such as sauropod, carnosaur, hypsilophodon and stegosaur.
During Late Jurassic to Early Cretaceous, northeastern Thailand became an extensive alluvial plain in which hundreds of rivers from Vietnam, Laos and Cambodia joined in the middle before flowing to the sea further in the west. There were several kinds of dinosaurs, Phuwianggosaurus sirindhornae, Siamotyrannus isanensis, Compsognathus, Kinareemimus etc, and later evolved to be Iguanodon and Psittacosaurus sattayaraki.
During the Late of Early Cretaceous, the Dong Phaya Yen mountain range was formed creating 2 landlocked basins, Nakhon Thai and Maha Sarakham, The basins consisted of extreme salty water from which potash and rock salt deposits formed. Consequently. the areas turned into dry land. Some of them were deserts. The dinosaurs might have become extinct either prior to the dry land stage or during the desert forming stage.
โดรมีโอซอรัส
Dromaeosaurus sp.
ความหมายของชื่อ - สัตว์เลื้อยคลานนักวิ่ง
อันดับ - ซอริสเชีย
อันดับย่อย - เทอโรโพดา
วงศ์ - โดรมิโอซอริเด
อายุ - ครีเทเซียสตอนปลาย ประมาณ 76 ล้านปีมาแล้ว
ยาว - 2 ม.
อาหาร - สัตว์ ซากสัตว์
สถานที่พบ - มลรัฐมอนแทนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
Meaning - Running reptile, swift reptile
Order - Saurischia
Suborder - Theropoda
Family - Dromaeosauridae
Age - Late Cretaceous, 76 million years ago
Length - 2 m
Diet - animals, carrion
Locality - U.S.A. (Montana) and Canada (Alberta)
ฝูงไดโนเสาร์นักล่า
A herd of carnivorous dinosaurs
โดรมีโอซอร์ เป็นกลุ่มของไดโนเสาร์นักล่าขนาดเล็ก หัวใหญ่ ตาใหญ่ วิ่งเร็ว ขาแข็งแรง มีกรงเล็บที่ขาคู่หน้า และเล็บโค้งรูปเคียวคมกริบที่ขาคู่หลังเป็นอาวุธสังหาร จัดการเหยื่อด้วยการเตะและสร้างบาดแผลขนาดใหญ่ ไว้บนตัวเหยื่อให้เสียเลือดจนตาย และมักอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เพื่อเพิ่มความสามารถในการล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่มากๆ
ไดโนเสาร์ในตระกูลโดรมีโอซอร์ ได้แก่ โดรมีโอซอรัส ไดโนไนคัส และเวโลซิแรปเตอร์
Dromaeosaur was a group of small-sized carnivorous dinosaurs with a big skull and eyes. Agile and fast running, it had robust legs, front claws and sickle-shaped hind claws. It overcame its prey by kicking, goring and leaving big wounds on the prey's body which died after losing blood. They might have travelled in herds helping each other hunt.
The dinosaurs in Dromaeosaur family were Dromaeosaurus, Deinonychus and Velociraptor.
มหายุค ซีโนโซอิก Cenozoic Era
มหายุคซีโนโซอิก หรือมหายุคแห่งชีวิตใหม่ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ 65 ล้านปีมาแล้ว จนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคพาลีโอจีน และยุคนีโอจีน
The Cenozoic Era or new era ranges from 65 million years ago until today and is divided into Paleogene and Neogene Periods.
ยุคพาลีโอจีน (65 - 23 ล้านปีมาแล้ว)
Paleogene Period (65-23 million years)
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 2 ประการในยุคนี้คือ
อากาศเปลี่ยนจากร้อนชื้นเป็นเย็นและแห้งขึ้นจนป่าดิบชื้นกลายเป็นทุ่งหญ้า สาเหตุมาจากการก่อตัวของกระแสน้ำเย็นรอบทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อทวีปออสเตรเลียและทวีปอเมริกาใต้แยกตัว ออกไป ส่งผลให้เกิดแผ่นน้ำแข็งสะสมตัวที่ทวีปแอนตาร์กติกา
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่กระจายพันธุ์ครอบครองพื้นที่ และมีความหลากหลายมากทั้งกลุ่มที่กินพืช กินเนื้อ และมีอยู่ทั้งบนบก ในน้ำ และในอากาศ
ยุคนี้แบ่งออกเป็น 3 สมัยคือ พาลีโอซีน อีโอซีน และ โอลิโกซีน
There were 2 significant events during this period. The first one was the changing of climate from semiarid to arid. This resulted in transformation of tropical rainforest into grassland due to the cold current around Antarctica. It was formed during the separation of the Australian continent from the South American continent, creating ice sheet deposite on Antarctica. Another event was the dramatic increase of mammals which generated their diversity and they occupied the land, sea and sky. They were both carnivorous and herbivorous.This period is divided into Paleocene, Eocene and Oligocene
ยุคนีโอจีน (23 ล้านปีมาแล้ว - ปัจจุบัน)
Neogene Period (23 million years - present)
เป็นยุคที่โลกเข้าสู่ยุคปัจจุบัน ในช่วงต้นยุคทวีปเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งปัจจุบัน อากาศยังเย็นลงเรื่อยๆ ก่อให้เกิดยุคน้ำแข็งสลับกับช่วงอบอุ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณสูญพันธุ์ไปหมด บรรพบุรุษของมนุษย์วิวัฒนาการขึ้นช่วงกลางยุคก่อนที่จะแพร่พันธุ์ ไปทั่วโลก
ยุคนี้แบ่งเป็น 4 สมัย คือ ไมโอซีน ไพลโอซีน ไพลสโตซีน และโฮโลซีน
This is the period towards the world of today. During the beginning of the period, all continents moved to their present position and the climate continuously cooled down. This resulted in the alternative ice age and warmer climate. The ancient mammals became extinct. Human ancestors started to evolve during the middle of the period prior to dissemination of their lineages.
This period is divided into Miocene, Pliocene, Pleistocene and Holocene.
ภูน้ำจั้น Phu Nam Jun แหล่งปลาโบราณ 150 ล้านปี
5:30 AM
Lepidotes Buddhabutrensis, Phu Kum Khao Dinosaur Museum, Phu Nam Jun, กาฬสินธุ์, พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว
No comments
ภูน้ำจั้น
Phu Nam Jun
จากน้ำเป็นดิน จากปลาเป็นหิน
Phu Nam Jun
จากน้ำเป็นดิน จากปลาเป็นหิน
From water into soil, from fish became rock
แหล่งปลาโบราณ 150 ล้านปี
แหล่งปลาโบราณ 150 ล้านปี
Primitive Fish Site
150 million years ago
ครั้งยังเป็นบึง
ในบริเวณที่เป็นภูน้ำจั้นในปัจจุบันนี้ เมื่อ 150 ล้านปีก่อนเป็นบึง ขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มาก น้ำลึกกว่า 3 เมตร มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
The Old Swamp
ในบริเวณที่เป็นภูน้ำจั้นในปัจจุบันนี้ เมื่อ 150 ล้านปีก่อนเป็นบึง ขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มาก น้ำลึกกว่า 3 เมตร มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
The Old Swamp
150 million years ago, Phu Nam Jun was a huge fertile swamp in which many fishes resided in the 3 m deep water.
ปลากินพืช เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส
Herbivorous fish : Lepidotes buddhabutrensis
Herbivorous fish : Lepidotes buddhabutrensis
ปลากินพืช เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส
Herbivorous fish : Lepidotes buddhabutrensis
Herbivorous fish : Lepidotes buddhabutrensis
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์สิรินธร Sirindhorn Museum (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว)
3:10 AM
Phu Kum Khao Dinosaur Museum, Siamotyrannus isanensis, กาฬสินธุ์, พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว
No comments
พิพิธภัณฑ์สิรินธร Sirindhorn Museum (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว)
Sirindhorn Museum | Phu kum khao Dinosaur Museum
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
Siamotyrannus isanensis
ธรณีวิทยาของภูกุ้มข้าว
Geology of Phu Kum Khao
ภูกุ้มข้าวประกอบด้วยหินที่สะสมตัวในช่วงมหายุคมีโซโซอิก คือ หมวดหินเสาขัว (130 ล้านปี) และ หมวดหินภูพาน (120 ล้านปี) ภูเขาลูกนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ซึ่งเกิดจากชั้นหินตะกอนของมหายุคมีโซโซอิกโก่งตัวขึ้น โดยในส่วนของภูกุ้มข้าวและบริเวณใกล้เคียง ชั้นหินได้โก่งงอเป็นรูปคล้ายประทุนเรือ วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกเฉพาะว่าโครงสร้างรูปประทุน สหัสขันธ์ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ชั้นหินตรงส่วนปลายเรียวทั้งสองข้างต่างก็เอียงตัวมุดลงใต้ผิวดิน มองดูคล้ายเรือแจวที่คว่ำอยู่ ต่อมาได้เกิดกระบวนการกร่อนโดยธารน้ำ ส่วนที่สูงโด่งขึ้นมาถูกน้ำกัดเซาะหายไป เหลือเพียงส่วนที่เป็นภูสิงห์ และภูทอกอยู่ทางตอนหัวด้านทิศตะวันตก ภูกุ้มข้าวและภูปออยู่ตรงกลาง ส่วนบริเวณอื่นๆ เหลือให้เห็นเป็นแค่เนินเตี้ยๆ
Phu Kum Khao, a small hill, consists of the rocks deposited during Mesozoic Era, Sao Khua Formation (130 milloon years) and Phu Phan Formation (120 million years). Phu Kum Khao is a part of Phu Phan mountain range which is folded Mesozoic sedimentary strata. The hill and its vicinity are anticlinal folded strata and align northwest-southeast with 2 narrow and dipping down into the ground similar to an overturned boat. The consequent stream erosion worn down the higher part leaving what are today Phu Sing and Phu Thok in the west, Phu Kum Khao and Phu Por in the middle and many other small hills
การค้นพบไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว
Dinosaur Discovery at Phu Kum Khao
Dinosaur Discovery at Phu Kum Khao
ภูกุ้มข้าวเป็นภูเขาเล็กๆ มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาเรื่องไดโนเสาร์ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จำนวนมาก รวมทั้งมีซากขนาดใหญ่ที่เกือบสมบูรณ์ โดยเริ่มมีรายงาน การพบซากไดโนเสาร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 ในครั้งแรกพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวันได้พบกระดูก 3 ชิ้น ซึ่งเป็นขาหน้าของซอโรพอด ต่อมาทางวัดสร้างถนนรอบภูกุ้มข้าว จึงได้พบกระดูก ไดโนเสาร์อีก เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2537 โดยพบอยู่ในร่องน้ำข้างถนน ซึ่งน้ำฝนได้กัดเซาะชั้นหินลงไปจนเห็น กระดูกโผล่ขึ้นมา และจากจุดเริ่มต้นเล็กๆนี้ คณะสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นพบ กระดูกไดโนเสาร์มากมายกว่า 630 ชิ้น โดยใช้เวลาขุดค้นกว่าหนึ่งปี
Phu Kum Khao, a small hill in Kalasin Province is an important site for dinosaur study in Thailand because the hill is the excavation site of numerous dinosaur fossils. A nearly complete huge dinosaur fossil has also been discovered here. The first dinosaur fossil discovery was in 1978 during which Phrakru Vichitra Sahaskhun, the abbot of a Buddhist monastery, Wat Sakawan, found 3 pieces of pieces of sauropod fore-leg bones. He later constructed a road around the hill. On September 4,1994 more dinosaur bones were again found in the gully beside the road. Later on, the exploration team from The Department of Mineral Resources spent more than a year to discover more than 630 pieces of dinosaur bones.
พาลีโอโซอิก : มหายุคแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโบราณ
Paleozoic : The Era of Ancient Life Evolution
542 ล้านปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดการขยายเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ จากพวกที่มีรูปแบบง่ายๆ ไม่กี่ประเภท วิวัฒนาการไปสู่สิ่งมีชีวิตหลากรูปแบบ จากสัตว์ตัวอ่อนนุ่มไปสู่สัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม ปลาโบราณขนาดใหญ่ยาวกว่า 5 เมตร แหวกว่ายผ่านแนวปะการังมหึมาที่แผ่ไปทั่วท้องทะเลเขตร้อน สิ่งมีชีวิตบางประเภทพากันรุกคืบขึ้นบก เปลี่ยนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่าให้กลายเป็นป่าทึบที่อุดม ไปด้วยแมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน ก่อนที่มหันตภัยปริศนาจะกวาดล้างสรรพชีวิตบนโลกไปจนเกือบหมดสิ้น
About 542 million years ago, the explosion of life evolution took place, from a few simple forms to many new kinds of organism; from soft-bodied to hard shelled animals. Ancient huge fishes, more than 5 m in length, swam through immense expanse of coral reefs in the tropical seas.
Some kinds of life evolved to live on land. The barren land was now enriched with fertile forest, Insects, amphibians and reptiles. At the end of this era, the utmost creatures
became extinct in a mysterious tragedy.
Subscribe to:
Posts (Atom)
ไดโนเสาร์ หุ่นยนต์ ดุมาก สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ที่พิพิธภัณฑ์ หอยหิน 150 ล้านปี จ.หนองบัวลำภู